รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.รุ่งโรจน์ ไพศาลสมบัติรัตน์
2.มนธิรา ไพศาลสมบัติรัตน์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การอ่าน
2.การอ่าน -- การสำรวจ -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการอ่าน ความสนใจ และความต้องการในการอ่าน ปัญหาในการอ่าน แหล่งเรียนรู้โดยการอ่าน และเปรียบเทียบความสนใจและความต้องการ ในการอ่านของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ทั้ง 4 เขตวิทยา ได้แก่ วิทยาเขตบางพระ วิทยาเขตจันทบุรี วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ละวิทยาเขตอุเทนถวาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 9,825 คน โดยใช้วิธีการกำหนดสัดส่วน (Quota Sampling) และใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) รวม 900 คน ได้แบบสอบถามคืนทั้งสิ้น 776 ชุด คิดเป็นร้อยละ 86.22 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพและความต้องการในการอ่านเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติความถี่ (Frequency) ร้อยละ (percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านสภาพการอ่าน นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ใช้เวลาส่วนใหญ่อ่านในเวลากลางวัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการอ่านเพื่อประกอบการเรียนตามหลักสูตร มีการเลือกหนังสือพิมพ์สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่ออ่าน โดยใช้ดุลยพินิจของตนเองเป็นหลัก มีสถานที่ที่อ่านเป็นประจำ คือ หอพักนักศึกษาอ่านหนังสือเฉลี่ย 1.41 เล่มต่อวัน โดยลักษณะของหนังสือหรือบทความที่ชอบอ่านต้องพิมพ์เป็นภาษาไทยหนังสือที่อ่านประจำอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ มากที่สุด คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อติดตามข่าวสาร เหตุการณ์ปัจจุบัน วารสารที่สนใจอ่าน มากที่สุดคือ วารสารบันเทิง คุณสมบัติของนักเขียนที่มีผลต่อการอ่านหนังสือหรือบทความ คือ มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ แหล่งความรู้ที่ค้นคว้าของนักศึกษามากที่สุดคือ สำนักวิทยาบริการฯวิทยาเขตที่กำลังศึกษาอยู่ (2) ความสนใจและความต้องการในการอ่าน หนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) วารสาร และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) หนังสือพิมพ์ ฐานข้อมูลอ้างอิง (E-reference) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัญหาในการอ่าน ด้านปัญหาที่เกิดจากนักศึกษามากที่สุดคือ ไม่มีเวลาอ่าน ด้านปัญหาที่เกิดจากอาจารย์ผู้สอนมากที่สุดคือ อาจารย์ผู้สอนแนะนำให้อ่านสิ่งพิมพ์ที่ยากเกินไป ด้านปัญหาที่เกิดจากการบริการของสำนักวิทยบริการฯ มากที่สุดคือ สำนักวิทยบริการฯมีหนังสือไม่ตรงความต้องการ วิธีการแก้ปัญหาเมื่อต้องการอ่านหนังสือ สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ หาซื้อเอง (4) การเปรียบเทียบสภาพการอ่านของนักศึกษาจำแนกตามวิทยาเขตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เปรียบเทียบความสนใจและความต้องการในการอ่านของนักศึกษา พบว่า ความสนใจในการอ่านหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) วารสารและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) จำแนกตามวิทยาเขตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเปรียบเทียบปัญหาในการอ่านจำแนกตามวิทยาเขตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 21
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 83 - 96
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-3212
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)