รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.อาดัม นีละไพจิตร
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม
หัวเรื่องควบคุม
1.นักเรียน -- การให้คำปรึกษา -- วิจัย
2.การให้คำปรึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มและเปรียบเทียบสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจำนวน 211 คน เพื่อใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่ม กลุ่มที่สองเป็นครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ที่มีคะแนนสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 9 คน เพื่อเข้ากลุ่มฝึกอบรมสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม พบว่า โมเดลสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับครูโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ เจตคติต่อการให้คำปรึกษากลุ่ม การเป็นผู้นำกลุ่ม ความรู้การให้คำปรึกษากลุ่ม และทักษะการให้คำปรึกษากลุ่ม และองค์ประกอบย่อยของสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับครูโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามประกอบด้วย 8 ด้าน คือ ด้านความรู้สึกที่มีต่อการให้คำปรึกษา ด้านความรู้ที่มีต่อผู้รับคำปรึกษา ด้านคุณลักษณะของผู้นำกลุ่ม ด้านทักษะภาษาท่าทาง และด้านทักษะภาษาถ้อยคำ โมเดลสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถวัดองค์ประกอบของสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้ 2. การพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โดยใช้กลุ่มฝึกอบรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ และขั้นยุติ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏี และเทคนิคการฝึกอบรมและการให้คำปรึกษากลุ่ม มาพัฒนาสมรรถนะการให้ให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3. สมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยรวม และรายองค์ประกอบของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมฝึกอบรม ก่อนเข้าร่วมกลุ่มฝึกอบรม หลังเข้าร่วมกลุ่มฝึกอบรม และสิ้นสุดการติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ากลุ่มฝึกอบรมมีผลให้สมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 21
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 69 - 82
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-3212
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)