รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.ศิริมงคล ทนทอง
2.สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์
3.บุญเชิด ภิญโญนันตพงษ์
4.เยาวพา เดชะคุปต์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ภูมิปัญญาชาวบ้าน
2.การศึกษาขั้นประถม -- หลักสูตร
3.การศึกษาขั้นประถม -- การศึกษาและการสอน -- หลักสูตร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรที่มีต่อพัฒนาการด้านการเรียนและความรู้สึกภาคภูมิใจในตนองของเด็กปฐมวัย จาการใช้หลักสูตรภูมิปัญญาทองถิ่นสุรินทร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 5 ห้องเรียน คือ โรงเรียนบ้านตอกตรา โรงเรียนบ้านวังปลัด โรงเรียนบ้านทับทัน โรงเรียนบ้านเสรียง โรงเรียนบ้านสนบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวนทั้งสิ้น 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์สำหรับเด็กปฐมวัย และแบบประเมินด้านการเรียนและความรู้สึกภาคกูมิใจในตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินพัฒนาการด้านการเรียนและความภาคภูมิใจในตนเองของเด็กปฐมวัย โดยใช้ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 5 กลุ่มเนื้อหา คือ กลุ่มที่ 1 การประกอบอาชีพ ประกอบด้วย หน่วยการทำนาปลูกข้าว หน่วยการทอผ้าไหม หน่วยการทำเครื่องเงิน และหน่วยการทำเครื่องจักสาน กลุ่มที่ 2 พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณี ประกอบด้วย หน่วยแซนโฏนตา หน่วยบุญผะเหวด หน่วยบุญสงกรานต์ และหน่วยบุญบั้งไฟ หน่วยที่ 3 อาหารพื้นบ้าน ประกอบด้วย หน่วยขนมบายกรีม หน่วยขนมเนียล หน่วยขนมนางเล็ด และหน่วยขนมดอกลำเจียก กลุ่มที่ 4 ศิลปะและการละเล่น ประกอบด้วย หน่วยของเล่นเด็ก หน่วยนิทานพื้นบ้าน หน่วยงานช้างสุรินทร์ และหน่วยกันตรึม และกลุ่มที่ 5 แหล่งโบราณสถานและบุคคลสำคัญ ประกอบด้วย หน่วยสุรินทร์จังหวัดของหนู หน่วยพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง หน่วยอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง และหน่วยหลวงปู่ดุล อตุโล และพัฒนาด้านการเรียนและความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของเด็กปฐมวัย พบว่าเนื้อหาและกิจกรรมเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียน มีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพท้องถิ่นของตนเอง ส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนได้ครบ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ และสติปัญญา ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสนใจในกิจกรรมและต้องการเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่นมากขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรัก ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นสุรินทร์
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 21
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 1 - 12
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-3212
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)