หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง
Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.
ทักษิณา เทพประสิทธิ์
2.
สุธาสินี บุญญาพิทักษ์
3.
สุเทพ สันติวรานนท์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
การจัดการเรียนรู้เทคนิคแผนที่ทางความคิดแบบเชิงรุก
หัวเรื่องควบคุม
1.
สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
2.
ความคิดและการคิด -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคแผนที่ทางความคิดแบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบความสมารถในการวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคแผนที่ทางความคิดแบบเชิงรุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 36 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต 2 โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้เทคนิคแผนที่ทางความคิดแบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2)แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชุดที่ 1 เรื่อง เศรษฐศาสตร์ 3)แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชุดที่ 2 เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิต 4) แบบทดสอบระหว่างเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐานการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคแผนที่ทางความคิดแบบเชิงรุกที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ 80/80 ด้วยสูตร E1/E2 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน t-test Dependent ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคแผนที่ทางความคิดแบบเชิงรุก เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรุ้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพ 84.35/81.78 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคแผนที่ทางความคิดแบบเชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสุงกว่าก่อนเรียน เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารปาริชาต
ปีที่
23
ฉบับที่
1
หน้าที่
23 - 34
ปีพิมพ์
2553
ชื่อสำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
0867-0884
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)