หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง
Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.
พัชรียา เสนีย์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
การสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้
2.
เศษส่วน
หัวเรื่องควบคุม
1.
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT ) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ หลังเรียนเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม 4) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านปากแพรก อำเภอบางขัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 3)แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า 1.แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 8689/84.44 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ สุงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ) คือร้อยละ 84044 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ มีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีโดยมีค่าเฉลี่ย 4.16
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารปาริชาต
ปีที่
2552
ฉบับที่
22
หน้าที่
117 - 130
ปีพิมพ์
1
ชื่อสำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
0867-0884
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)