รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนววิถีพุทธ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครนายก
ชื่อเรื่องรอง The Development of Science Instruction Model based on Buddhism Principles for Grade 6 Students at the Anubal Nakhon Nayok School
ชื่อผู้แต่ง
1.กิตติชัย สุธาสิโนบล
2.ปราณี โพธิสุข
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.การเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธ
หัวเรื่องควบคุม
1.วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ความสำคัญของปัญหา วิทยาศาสตร์ช่วยมนุษย์เข้าใจธรรมชาติของตนเอง ทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาวิธีคิด และนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตมากมาย ปัจจุบันวิทยาศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และได้ถูกบรรจุให้มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับ อุดมศึกษา โดยมุ่งเน้นให้ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอที่จะนำวิทยาศาสตร์ไปใช้อย่างมีคุณภาพ สามารถวินิจฉัย และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ในสภาพปัจจุบันพบว่า การจัดการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์ มีปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมายซึ่งได้แก่ การมอง และคิดแบบแยกส่วน เพราะวิทยาศาสตร์เน้นที่การวัดได้แม่นยำ และไปเกี่ยวข้องกับวัตถุหรือรูปธรรม โดยทิ้งนามธรรมไปเลยประดุจว่าไม่มี แต่ในความเป็นจริง ธรรมชาติมีทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่เชื่อมโยงกันอยู่ ซึ่งนามธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ คุณค่าหรือจิตวิญญาณ มีอยู่จริงแต่วัดไม่ได้แม่นยำ เมื่อวัดไม่ได้แม่นยำ โลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นโลกทัศน์ที่เอียงหรือบกพร่อง คือ ขาดมิติทางนามธรรม ดังนั้น อารยธรรมใหม่ ที่มีฐานอยู่ในวิทยาศาสตร์จึงเป็นอารยธรรมวัตถุนิยม ขาดความเข้าใจในมิติทางจิตวิญญาณ แต่เนื่องจากมิติทางจิตวิญญาณ เป็นเรื่องที่ขาดมิได้ในความเป็นมนุษย์โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ที่แยกส่วนแม้จะดลบันดาลความก้าวหน้าทางวัตถุต่างๆ ก็นำไปสู่วิกฤตการณ์การมองไม่ครบหรือทัศนะแบบแยกส่วน จะนำไปสู่การเสียสมดุล และวิกฤตเสมอ (ประเวศ,2546: 17)นอกจากนี้ ปัญหาทางด้านสังคมซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ศีลธรรมได้เสื่อมถอยลง เห็นได้จากข่าวอาชญากรรมดามหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีให้พบเห็นกันอยู่ทุกวันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศตามแบบอย่างตะวันตกทำให้ผู้คนละทิ้งความคิด และคุณธรรม จึงส่งผลให้คุณธรรมทางด้านจิตใจลดต่ำลงเกิดปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย (พระธรรมปิฏก,2545: 124) นอกจากนี้ จากการศึกษารายงานการวิจัยและเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกีบปัญหาการจัดการรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (วิชัย,2542: 2 รุ่ง: 2543 35-37) สรุปได้ว่าครูผู้สอนจำนวนมากยังใช้วิธีการสอนแบบยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยายมุ่งเน้นสอนเนื้อหา ส่งเสริมท่องจำมากกว่า มุ่งให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ หรือสืบเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองทำให้ผู้เรียนคิดไม่เป็น ขาดความเข้าใจในการเรียนรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่วนการประเมินผลการเรียน พบว่ายังพิจารณาจากผลการสอบเท่านั้นไม่ได้พิจารณาจากหลักบานผลการเรียนรู้ทั้งหมดที่ผู้เรียนเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ในขณะที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากมาย และความรู้ที่แยกส่วนเฉพาะด้านเกิดใหม่ตลอดเวลาอันมีผลจากการวิจัยและทดลอง ทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริง .จากสภาพดังกล่าว วิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมรู้และเข้าใจถึงความเป็นจริงของธรรมชาติที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง คือ การจัดการเรียนการสอนตามแนวพุทธ (พระพรหมคุณาภรณ์,2548: 4) ซึ่งถือเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคนบนฐานของธรรมชาติ ยึดถือ”ทางสายกลาง” ไม่ให้สุดโต่ง เอียงสุด โดยมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ การพัฒนาให้นักเรียนสามารถ ”กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น” และ “ใช้ปัญญา” ให้เกิดประโยชน์แท้จริงต่อชีวิต ซึ่งในการจัดการเรียน การสอนจะต้องจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ (ปรโตโฆสะ) ที่เป็นกัลยาณมิตรเอื้อในการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้านด้วย “วิถีวัฒนธรรมแสวงปัญญา” โดยจัดผ่าน “ระบบไตรสิกขา” ที่นักเรียนได้ศึกษาและปฎิบัติทั้ง คือ สมาธิ และปัญญา ที่มีความรู้ที่ถูกต้อง มีศักยภาพในการคิดที่แยบคาย (โยนิโสมสิการ) ซึ่งผลที่เกิดจากการพัฒนานั้น ผู้เรียนจะสามารถพฤติกรรมทางกาย (กายภาวนา) พัฒนาพฤติกรรมทางสังคม (ศีลภาวนา) พัฒนาพฤติกรรมทางจิตใจ (จิตตภาวนา) และพัฒนาการทางปัญญา (ปัญญาภาวนา) จากสภาพและแนวคิดดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนววิถีพุทธ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ จะเป็น การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนววิถีพุทธ เพื่อพัฒนากายภาวนา (Physical development) ศีลภาวนา (Social development) จิตตภาวนา (Emotional development) และปัญญาภาวนา (Wisdom development) ของผู้เรียน เพื่อจะนำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และเป็นแนวทาง ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนววิถีพุทธให้มีประสิทธิภาพมากยอิ่งขึ้นต่อไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารปาริชาต
ปีที่ 22
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 25 - 34
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0867-0884
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)