ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาศักายภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่กรศึกษามัธยมศึกษา เขต22
|
ชื่อเรื่องรอง |
DEVELOPMENT OF THE TEACHERS' POTENTIAL ON PRODING COMPUTENR ASSISTED INSTED INSTRUCTION AT BAN PHUENGWITTHATAKHOM SCHOOL UNDER THE OFFICE OF THE SECONDSARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 22
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | วสันต์ ศรีแสน |
2. | เพลินพิศ ธรรมรัตน์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน |
2. | แบบเรียนสำเร็จรูป |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research: PAR) โดยมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มครูผู้ร่วมวิจัย จำนวน 16 คน ได้แก่ 1) ผู้วิจัยจำนวน 1 คน 2) ครูผู้ร่วมวิจัย จำนวน 15 คน และ 2)กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 36 คน ได้แก่ 1)วิทยาการ จำนวน 2 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน 3) ผู้นิเทศ จำนวน 5 คน 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและปัญหา แบบประเมินตนเองก่อนและหลังการอบรม แบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อการอบรม แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และแบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การวิเคราะห์ข้อมูลให้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ครูมีสภาพการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนค่อยข้างน้อย ขาดแรงกระตุ้นในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนปัญหา พบว่า ยังขาดการให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำและนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ขาดแรงกระตุ้นในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มากรใช้งบประมาณส่วนตัวที่ใช้ในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขาดทักษะประสบการณ์ในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการจัดให้มีการประชุมหรือนำคณะครูเข้าร่วมปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครู ได้ดำเนินการ 2 วงรอบ โดยในวงรอบที่ 1 ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางในการศักยภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่ 1) การแบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การสิเทศติดตามการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วงรอบที่ 2 ผู้วิจัยและครูผู้ร่วมวิจัยทุกคนที่ได้รับการประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในด้านที่มีข้อบกพร่องในวงรอบที่ 1 และการปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอีกครั้งหนึ่ง และนิเทศติตามในด้านที่มีข้อบกพร่อง
3. ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ในวงรอบที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของครูผู้ร่วมวิจัยโดยกลุ่มผู้นิเทศปรากฏโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ? = 4.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้านได้แก่ 1) ด้านตัวอักษร 2) การจัดการในบทเรียนและแบบฝึก 3) ด้านการใช้ภาษา 4) ด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง 5) ส่วนนำของบทเรียนและส่วนอีก 3 ด้านที่เหลือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม ได้แก่ 1) ออกแบบระบบการเรียนการสอน 2) ด้านเสียง 3) ด้านกราฟิก และผลในวงรอบที่ 2 การเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของครูผู้ร่วมวิจัย 16 คน ซึ่งได้รับการนิเทศติดตามประเมินผลจากกลุ่มผู้นิเทศ ในด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม 3 ด้าน พบว่าคะแนนเฉลี่ยวงรอบที่ 2 สูงกว่าวงรอบที่ 1 (x ? = 0.50)โดยมีร้อยละเพิ่มขึ้นเท่ากับ ร้อยละ 11.74 และครูผู้ร่วมวิจัยทุกคนมีความรู้ความสามารถ และความพึงพอใจในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
|