รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ลักษณะการบริหารการจัดการที่เหมาะสมของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กรณีศึกษาในประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง Apporpriate Management Characteristics of Telecentres Case Study of Thai Telecentres
ชื่อผู้แต่ง
1.ประภาพรรณ วุ่นสุข
2.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ศูนย์การเรียนรู้ ICT -- การบริหาร
หัวเรื่องควบคุม
1.การบริหารองค์ความรู้
คำอธิบาย / บทคัดย่อ วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการบริหารจัดการของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน (Telecentre) โดยการศึกษาองค์ประกอบในบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศองค์ประกอบในการบริหารจัดการชุมชน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อวิเคราะห์สรุปลักษณะของการบริหารจัดการที่เหมาะสมของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนในประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้ทั้งระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สำหรับวิจัยเชิงคุณภาพใช้กรณีศึกษาแบบเปรียบเทียบ (Comparative Case Study Method) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ผู้ดูแลศูนย์ฯ และผู้รับบริการฯ ทั้งสิ้นจำนวน 60 คน จาก 4 กรณีศึกษา คือ 1) ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเฉลิมพระเกียรติวัดโพธิการาม จ.ร้อยเอ็ด 2) ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนวัดบูรพา จ.ยโสธร 3) ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนตำบลบางเพรียง จ.สมุทรปราการ และ 4) ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเทศบาลตำบลหนองเสือ จ.ปทุมธานี สำหรับวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เก็บข้อมูลจากผู้ดูแลศูนย์ฯและผู้รับบริการฯจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน 202 ศูนย์ทั่วประเทศ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูล โดยใช้สัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสัมภาษณ์กลุ่มทั้งนี้ได้มีผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบของการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ 1) โครงสร้างทางเทคโนโลยี 2) การบริการ 3) ทรัพยากรบุคคล และองค์ประกอบของการบริหารจัดการชุมชน คือ 1) โครงสร้างชุมชน 2) คณะกรรมการบริหาร 3) ความรับผิดชอบ และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จมากที่สุดในแต่ละกลุ่ม จำนวน 6 ปัจจัย คือ1) มีการกำหนดแผนปฏิบัติงานและวิเคราะห์สภาพการณ์ต่างๆ ร่วมกับชุมชน (1.70) 2) มีการกำหนดระเบียบ/ข้อปฏิบัติภายในศูนย์ฯ (1.65) 3) มีการกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ (1.50) 4) การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (1.45) 5)การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของศูนย์ฯจากสมาชิกในชุมชนอย่างกระตือรือร้นและต่อเนื่อง (1.43) 6) เป็นแหล่งศึกษาดูงานให้แก่ศูนย์ฯอื่นๆ และองค์กรอื่นๆ (1.40)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปีที่ 2
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 46 - 65
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ โครงการจัดตั้งกองส่งเสริมการวิจัย บริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 2228-8244
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)