รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
ชื่อเรื่องรอง Factors Contribute to Verbal Aggressive Behaviors of Secondary school Female Students under the Office of Suratthani Educational service Area 1
ชื่อผู้แต่ง
1.จิราพร ไชยเชนทร์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.นักเรียน -- พฤติกรรม
2.ความก้าวร้าวในเยาวชน
3.ความก้าวร้าวในวัยรุ่น
4.การพูด -- พฤติกรรม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสบการณ์การถูกลงโทษทางวาจา พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของเพื่อนสนิท ความสนใจในการลือกรับสื่อที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา และพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนช่วงชั้น ที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 1 2)เปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิงจำแนกตาม ระดับชั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สภาพครอบครัว เศรษฐกิจของครอบครัว และ ระดับการศึกษาสูงสุดของมารดาหรือบุคคลที่ทำหน้าที่ทนมารดา 3)ประสบการณ์การถูกลงโทษทางวาจา พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของเพื่อนสนิท ความสนใจในการเลือกรับสื่อที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ทางวาจาของนักเรียนหญิง กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 1 จำนวน 356 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสบการณ์การถูกลงโทษทางวาจา พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของเพื่อนสนิท ความสนใจในการเลือกรับสื่อที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา และพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 อยู่ในระดับปานกลาง 2. นักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 ที่มีสภาพครอบครัวต่างกัน มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตาม ระดับชั้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เศรษฐกิจครอบครัว และระดับการศึกษาสูงสุดของมารดาหรือบุคคลที่ทำหน้าที่แทนมารดา ไม่พบความแตกต่าง 3. พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของบุคคลในครอบครัว และความสนใจในการเลือกรับสื่อที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 ได้ร้อยละ 73.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ปีที่ 2
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 227 - 250
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-1048
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)