หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
บริบทการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง
The Instructional Context of Thai as a Foreign Language, Bachelor's Degree Programs in Thailand
ชื่อผู้แต่ง
1.
วรพงศ์ ไชยฤกษ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
2.
ภาษาไทย -- ตำราสำหรับชนต่างชาติ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรวิชาการไทยฐานะภาษาต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี (2) ศึกษาสภาพ และ ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี และ (3) วิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาที่แต่ละสถาบันใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 6 สถาบัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ หัวหน้าภาค/สาขา หรือประธานโปรแกรม ผู้สอน และ นักศึกษา จำนวนทั้งหมด 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ตารางวิเคราะห์หลักสูตร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสังเกตการณ์จัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ทุกสถาบันบริหารหลักสูตรภายใต้หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต โดยจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ เป็นหลักสูตรที่ทางสถาบันในประเทศไทยจัดเอง เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ (Collaboration) หลักสูตรแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละสถาบัน โดยจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรระหว่าง 122-148 หน่วยกิต 2. ผู้บริหารส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งบริหารหลักสูตรภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศน้อย ด้านผู้สอนมีความเห็นว่าหลักสูตรวิชาภาไทยสำหรับชาวต่างชาติที่เปิดสอนในปัจจุบันเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอนดีแล้ว ซึ่งผู้สอนที่เคยได้รับการอบรม ประชุม สัมมนาเกี่ยวกับการวางแผนการสอนอยู่ในระดับมาก ส่วนเทคนิคการสอนที่ผู้สอนใช้ในระดับมาก คือ รูปแบบที่เน้นข้อมูล สื่อและอุปกรณ์การสอนที่ผู้สอนใช้เป็นอันดับแรกคือ สื่อมัลติมีเดีย เช่น ซีดี วีดีโอ ดีวีดี เทป ส่วน ผู้สอนมีความพร้อมในการวัดและประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ด้านปัญหาพบว่าผู้ร่างหลักสูตรและผู้นำหลักสูตรไปใช้เข้าใจวัตถุประสงค์ของหลักสูตรไม่ตรงกัน และหลักสูตรที่จัดทำขึ้นยากเกินไปและเกินความสามารถของนักศึกษา และผู้สอนไม่มีประสบการณ์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศทำให้มีปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และอาจารย์ไม่มีเวลาในการทำแผนการสอนและสื่อการเรียนการสอนเพราะภาระงานมากเกินไปและสภาพห้องเรียนแคบเกินไปไม่เหมาะสมที่จะกิจกรรมบางประเภท 3. แนวทางที่ผู้บริหารหลักสูตรและผู้สอนใช้ในการแก้ไขปัญหาคือ ประชุมปรึกษาหารือและนำเอาวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมาคุยกัน ละเชิญผู้เขียนหลักสูตรมาร่วมประชุมด้วยเพื่อจะได้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้ร่างหลักสูตรและผู้นำหลักสูตรไปใช้ตลอดจนลดชั่วโมงสอนของอาจารย์ไม่ให้เกินภาระงาน และหน่วยงานสนับสนุนให้คณาจารย์เข้าร่วมอบรมสัมมนาเพิ่มพูนความรู้ในทุกๆด้านเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะต่างประเทศ คำสำคัญ : บริบทการเรียนการสอน , ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ปีที่
2
ฉบับที่
2
หน้าที่
197 - 226
ปีพิมพ์
2553
ชื่อสำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1906-1048
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)