รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อการบริโภคขนมขบเคี้ยวของนักเรียนระดับประถมศึกษา
ชื่อเรื่องรอง Media Effect on Snack Consumption of Primary School Students
ชื่อผู้แต่ง
1.เกศิณี เธียรวรรณ
2.วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์
3.อานัฐ ตันโช
4.สิริวรรณ ชัยยานะ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.อาหารว่าง
2. พฤติกรรมผู้บริโภค
3.นักเรียน -- แง่โภชนาการ -- ไทย
4.สื่อมวลชนกับเด็ก -- วิจัย
5. โฆษณา -- แง่จิตวิทยา -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ 2)พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ 3)กระบวนการสื่อสารของสื่อที่มีผลต่อการขั้นตอนการตัดสินใจบริโภคขนมขบเคี้ยวของนักเรียนระดับประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ 4)พฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของนักเรียนระดับประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ 5)ผลกระทบของการตัดสินใจบริโภคขนมขบเคี้ยวในทรรศนะของนักเรียน ครู พ่อหรือแม่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์นักเรียน ผู้ปกครอง ตัวแทนครู และตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งหมด 23 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักเรียนที่บริโภคขนมขบเคี้ยวน้อยมีเงินเหลือกับมาออมที่บ้านทุกวัน มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่นักเรียนที่บริโภคขนมขบเคี้ยวมากมีเงินเหลือกลับมาออมน้อยกว่าและมีน้ำหนักและส่วนสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน การรับสื่อส่วนใหญ่มาจากการโฆษณาทางโทรทัศน์ การปริมาณการบริโภคมีตั้งแต่ 1-3 ซองที่เป็นผลผลิตทางการเกษตร แป้ง อาหารทะเล สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้แก่ ผลกระทบต่อสุขภาพ ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อพฤติกรรมการออมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารราชพฤกษ์
ปีที่ 8
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 208 - 214
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-1344
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)