รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาครูผู้สอนด้านการวิจัยในชั้นเรียน : กรณีศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.สุพินญา คำขจร
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การวิจัยในชั้นเรียน -- วิจัย
2.วิจัยชั้นเรียน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาครูผู้สอนด้านการวิจัยในชั้นเรียน และเพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการพัฒนาครูผู้สอนด้านการวิจัย จำแนกตามกลุ่มแผนกวิชาที่ปฏิบัติการสอนของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการพัฒนาครูผู้สอนด้านการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า 1)สภาพการสนับสนุนให้ครูผู้สอนมีความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียน สถานศึกษาใช้การฝึกอบรมเป็นหลัก ส่วนการสนับสนุนความรู้โดยการนิเทศและการประชุม/สัมมนาทางวิชาการ 2) สภาพการสนับสนุนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยในชั้นเรียนพบว่า สถานศึกษาให้การสนับสนุนด้านการใช้วัสดุอุปกรณ์ และการสนับสนุน มีค่อนข้างน้อย 3) สภาพการพัฒนาครูด้านการดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียน การจัดหาตำรา เอกสาร งานวิจัยทางวิชาการ และการจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนและเขียนรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนตามรูปแบบและ 4) สภาพการพัฒนาด้านการนำผลงานวิจัยในชั้นเรียนไปใช้และเผยแพร่พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่นำผลงานวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้เป็นระบบ และครูที่เผยแพร่ผลการวิจัยในชั้นเรียนมีค่อนข้างน้อย และนิยมเผลแพร่ผลงานในรูปเอกสาร 2. การเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาครูผู้สอนด้านการวิจัยในชั้นเรียน จำแนกตามแผนกวิชา ในสถานศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยสภาพการพัฒนาด้านดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ของแผนกวิชาบริหารธุรกิจมีความแตกต่างกับแผนกวิชาสัตวศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสภาพการพัฒนาด้านสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน และสภาพการพัฒนาด้านการนำผลการทำวิจัยในชั้นเรียนไปใช้และเผยแพร่ ทุกกลุ่มแผนกวิชาไม่มีความแตกต่างกัน 3. ปัญหาการพัฒนาครูผู้สอนด้านการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ประเด็นปัญหารายข้อ และปัญหาโดยรวม อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ส่วนปัญหารายข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับปัญหาค่อนข้างสูง ได้แก่ การสรุปความรู้ แนวทางในการทำวิจัยในชั้นเรียนจากประชุม/สัมมนา การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลข้อมูลการสนับสนุนการทำวิจัยใจชั้นเรียน และการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้หรือบูรณาการในการเรียนการสอนกับวิชาอื่นๆ 4. การเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาครูผู้สอนด้านการวิจัยในชั้นเรียน จำแนกตามแผนกวิชา ในสถานศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับปัญหาการให้ความรู้การวิจัยในชั้นเรียนโดยการฝึกอบรมของแผนกวิชาพืชศาสตร์มีความแตกต่างจากวิชาสัตวศาสตร์ แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ และกลุ่มแผนกวิชาประมง ช่างกลเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนระดับปัญหาการให้ความรู้โดยการประชุม /สัมมนา และการนิเทศภายใน รวมทั้งระดับปัญกาด้านการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ระดับปัญหาด้านการสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน ระดับปัญหาด้านการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ และระดับปัญหาโดยรวม ทุกกลุ่มแผนกวิชา ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 5. ในส่วนของความคิดเห็น เพิ่มเติมพบว่า ครูบางส่วนต้องการให้ฝึกอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่าน้อยปีกรศึกษาละ1ครั้ง และควรมีการจัดหาผู้เชี่ยวชาญการวิจัยมาให้คำปรึกษาและตรวจรายงานการวิจัยในสถานศึกษา
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ปีที่ 5
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 185 - 202
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0327
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)