รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประเภทแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กับวิธีการสอนตามคู่มือครู
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.ธนพล แสงหิรัญ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประเภทการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กับวิธีการสอนตามคู่มือครู และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประเภทการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประเภทการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประเภทการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนด้วยวิธีการสอนตามคู่มือครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความพอใจในเชิงบวกต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือประเภทการแบ่งผลสัมฤทธิ์ (STAD) อยู่ในระดับมาก โดยเฉลี่ย 3.82
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ปีที่ 5
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 126 - 133
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0327
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)