รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัมนาศักยภาพครูด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โรงเรียนบ้านดอนชัยวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต2
ชื่อเรื่องรอง DEVELOPMENT OF THE TEACHERS' ABILITIES ON AUTHENTIC MEASUREMENT AND EVALUATION AT BAN DON CHAI WITTHAYA SCHOOL UNDER THE OFFICE OF SAKON NAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA2
ชื่อผู้แต่ง
1.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
2.ธวัชชัย ไพใหล
3.อนุชิต วงศ์กระจ่าง
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ครู -- การพัฒนาบุคลากร -- ไทย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการวัดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงของครู 2) แนวทางพัฒนาศักยภาพการวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงของครู 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูโรงเรียนบ้านดอนชัยวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ผู้วิจัยและกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาจำนวน 11 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 4 คน โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ขั้นลงมือปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ ซึ่งทำการวิจัย 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบตรวจสอบรายการ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูส่วนใหญ่มักจะวัดและประเมินผลผู้เรียนโดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบชนิดต่างๆ โดยไม่เน้นการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงซึ่งเป็นแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ครูไม่ใช่วิธีการ เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายมากพอที่จะสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และพบว่า ครูยังเขียนแผนการจัดการเรียนรู้อิงอยู่กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่ไม่ตอบสนองต่อมาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ปัญหาของสภาพดังกล่าวเกิดจากครูส่วนใหญ่ไม่ตระหนักเห็นความสำคัญของการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงครูไม่เข้าใจในแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และครูไม่มีความชำนาญในการสร้างเครื่องมือที่หลากหลายเพียงพอสำหรับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 2.แนวทางพัฒนาศักยภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครู ได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการวัดและ ประเมินผลตามสภาพจริงให้กลุ่มเป้าหมายการพัฒนามีความรู้ เข้าใจในแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิธีการวัดและเครื่องมือวัดและประเมินผลตามสภาพจริง สามารถออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ กำหนดชิ้นงานและภาระงานที่นำมาวัดและประเมินผล รวมทั้งการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 2) การประชุมกลุ่มย่อย ให้กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาทอลองปฏิบัติด้วยการปรับแผนการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง พร้อมทั้งฝึกสร้างเครื่องมือในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงได้สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ 3) การนิเทศแบบมีส่วนร่วม โดยกลุ่มผู้นิเทศไปทำการสังเกตการสอนและนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาสรุปแล้วแจ้งให้กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาได้รับทราบ เพื่อร่วมกันตั้งของสังเกต ข้อเสนอแนะให้กำลังใจแก่กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 3. การติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครู พบว่ากลุ่มเป้าหมายการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจในแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เข้าใจในหลักการ วิธีการ เครื่องมือวัดและประเมินผลตามสภาพจริง กลุ่มเป้าหมายการพัฒนามีความรู้และเข้าใจในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยสามารถนำวิธีการและประเมินผลตามสภาพจริงมาใช้สามารถกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้ตรงตามวิธีวัดผลการสอนสามารถออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดผลและประเมินผล สามารถสร้างตารางรูบริคสำหรับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงได้ดี กลุ่มเป้าหมายการพัฒนามีความตระหนักเห็นความสำคัญของการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง อีกทั้งมีความมั่นใจในการนำแนวทางการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนของนักเรียนและประสิทธิภาพการสอนของครู
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ปีที่ 9
ฉบับที่ 41
หน้าที่ 113 - 120
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686 - 0632
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)