รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
สภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
|
ชื่อเรื่องรอง |
Hacked By TheWayEnd
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริหารสถานศึกษา |
2. | โรงเรียน -- การบริหาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3 สถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ไม่ผ่านเกณฑ์ และยังไม่ประเมิน จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา รอบที่ 2
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานวิชาการ พบว่า สภาพการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ สถานศึกษามีการดำเนินพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา “วิเคราะห์สภาพแวดล้อม และประเมินสถานภาพสถานศึกษาเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์” และสภาพการปฏิบัติน้อยสุด ได้แก่ สถานศึกษามีการนิเทศการศึกษา “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดระบบนิเทศการศึกษาของสถานศึกษากับเขตพื้นที่การศึกษา”
2. การบริหารงานบุคคล พบว่า สภาพการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ สถานศึกษามีการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการแก่บุคลากร “มอบหมายงานตรงกับความรู้ ความสามารถ และความถนัดของบุคลากร ” และสภาพการปฏิบัติน้อยสุด ได้แก่ สถานศึกษามีการดำเนินการเกี่ยวกับวินัย และการรักษาวินัย “ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการครูที่ทำผิด เช่น ควรลงโทษอย่างเอาจริงตามระเบียบขั้นตอนทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง”
3. การบริหารงานงบประมาณ พบว่า สภาพการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ สถานศึกษามีการบริหารทางการเงิน “จัดสรรเงินตามแผนงาน โครงการ แผนการปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับต้นทุนผลผลิตการจัดซื้อจัดจ้าง ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ” และสภาพการปฏิบัติน้อยสุด ได้แก่ สถานศึกษามีการดำเนินการเกี่ยวกับการคำนวณการเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนผลผลิต “ปรับเปลี่ยนระบบบัญชีเงินสดเป็นระบบบัญชีเกณฑ์พึงรับพึงจ่าย”
4. การบริหารงานทั่วไป พบว่า สภาพการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ สถานศึกษามีการประชาสัมพันธ์งานการศึกษา “จัดประชุมผู้ปกครองและชุมชน เพื่อชี้แจงการดำเนินงานของโรงเรียน ” และสภาพการปฏิบัติน้อยสุด ได้แก่ สถานศึกษามีการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ “สรุปการประเมินผลการติดตาม ตรวจสอบ อาคารสถานที่ และแหล่งเรียนรู้ ”
5. เปรียบเทียบการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา รอบที่ 2 เมื่อพิจารณา สถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ไม่ผ่านเกณฑ์ และยังไม่ประเมิน โดยภาพรวมพบว่า การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป มรการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)