รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การดำเนินการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 3
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.อภินันท์ ทองมมต์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ประกันคุณภาพการศึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3 และเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา จำแนกตามการทดสอบระดับชาติ (National Test) คะแนน NT สูง และNT ต่ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. การวางแผนการปฏิบัติงาน การดำเนินการที่มีความถี่สูง คือ การวางแผนการปฏิบัติงาน “เป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษา” และการดำเนินการที่มีค่าความถี่ต่ำสุด คือ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยวิธี “นำเสนอผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์” 2. การดำเนินการตามแผน การดำเนินการที่มีค่าความถี่สูง คือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ “การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำแผนการเรียนรู้” และการดำเนินการที่มีค่าความถี่ต่ำสุด คือ ในระหว่างการปฏิบัติงานเมื่อเกิดปัญหาและอุปสรรคผู้รับผิดชอบ “ผู้รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขเอง” 3. การตรวจสอบประเมินผล การดำเนินการที่มีค่าความถี่สูง คือ โรงเรียนดำเนินการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน “ก่อนเรียน ระหว่าเรียน หลังเรียน” และดำเนินที่มีค่าความถี่ต่ำสุดคือ โรงเรียนดำเนินการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน “ตามคำสั่งของผู้บริหาร” 4. การนำผลการประเมินมาปรับปรุง การดำเนินการที่มีค่าความถี่สูง คือ ขั้นตอนการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไข “แจ้งที่ประชุมทราบเพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน” และการดำเนินการที่มีค่าความถี่ต่ำสุด คือ แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง ดำเนินการ “เมื่อผู้บริหารสั่งการ” 5. การดำเนินการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสถานศึกษาที่มีผลการทดสอบระดับชาติ(National Test) คะแนนNT สูง และ NT ต่ำ ด้านการาวางแผนการปฏิบัติงาน “การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา” และ “การวางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินภายนอก ศึกษาดูงานจากโรงเรียนต้นแบบหรือโรงเรียนที่ผ่านการประเมิน ” มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ด้านการวางแผนการปฏิบัติงาน “ชุมชนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน” “การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ จัดทำแบบสำเร็จรูป” “ปัจจัยช่วยในการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผลความชัดเจนของกระบวนการ” และ “ในระหว่างปฏิบัติงานมีการประสานงานหรือเชื่อมโยงกัน บันทึกเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร” มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการตรวจสอบประเมินผล “โรงเรียนมีวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบและประเมินผลเพื่อดูความก้าวหน้ากระบวนการพัฒนา” “การวางกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ศึกษารายละเอียดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย” “การติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ แต่งตั้งคณะกรรมการ” และ “ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลร่วมเป็นคณะกรรมการในการตรวจสอบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุง การปรับปรุงงานเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา เป็นข้อกำหนดความถูกผิด ” และ “แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง โรงเรียนดำเนินการเมื่อผู้บริหารสั่งการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05”
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ปีที่ 5
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 28 - 50
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0327
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)