รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูในการสร้างบทเรียนออนไลน์ โรงเรียนสีสุกห้วยโมง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
ชื่อเรื่องรอง Action research to develop teachers in the creation of online lesson of ban sisuk huai mong school under the office of sakon nakhon primary educational service area 2
ชื่อผู้แต่ง
1.หทัยรัตน์ คำหด
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1. คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
2.การเรียนการสอนผ่านเว็บ
3.การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
4.แบบเรียนสำเร็จรูป
5.โปรแกรมช่วยสร้างแบบเรียนสำเร็จรูป
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาครูในการสร้างบทเรียนออนไลน์ โรงเรียนบ้าสีสุกห้วยโมง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 2) หาแนวทางพัฒนาครูในการสร้างบทเรียนโรงเรียนบ้าสีสุกห้วยโมง 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาในการสร้างบทเรียนออนไลน์ โรงเรียนบ้าสีสุกห้วยโมง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของเคมมิสและแม็กแท็กการ์ท (Kemmis and Mc Taggart) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือการวางแผน (Planning) การปฏิบัติ(Action)การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย ครูสายผู้สอน จำนวน 14 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มตัวอย่างง่ายจากกลุ่มนักเรียนที่เรียนกับกลุ่มผู้ร่วมวิจัยกลุ่มละ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x ?) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนออนไลน์โรงเรียนบ้าสีสุกห้วยโมง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 1.1 สภาพการพัฒนาครูในการสร้างบทเรียนออนไลน์โรงเรียนบ้าสีสุกห้วยโมงพบว่า ครูมีความรู้และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น แต่มีความรู้ในการสร้างบทเรียนออนไลน์ ค่อนข้างน้อยถึงน้อยมาก ครูมีความตระหนักที่จะ ได้รับการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ แต่ยังขาดทักษะการใช้โปรแกรมที่ใช้สร้างบทเรียนออนไลน์ และครูอยากให้โรงเรียนจัดอบรมปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนออนไลน์ 1.2 ปัญหาการเกี่ยวกับการพัฒนาครูในการสร้างบทเรียนออนไลน์ โรงเรียนบ้าสีสุกห้วยโมง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ?=4.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความรู้และทักษะในการผลิตสื่อการสอนออนไลน์มีระดับปัญหามากที่สุด 2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการสร้างบทเรียนออนไลน์ โรงเรียนบ้าสีสุกห้วยโมง ผู้ร่วมวิจัยได้สรุปแนวทางการวิจัยไว้มี 3 แนวทางคือ 1) การฝึกอบรม 2) การฝึกปฏิบัติ และ 3) การนิเทศติดตาม 3. ผลการดำเนินการพัฒนาครูในการสร้างบทเรียนออนไลน์โรงเรียนบ้าสีสุกห้วยโมง ผลการดำเนินการเป็นดังนี้ 3.1การฝึกอบรม พบว่า ครูมีความรู้และทักษะในการสร้างบทเรียนออนไลน์ มองเห็นแนวทางที่จะสร้างบทเรียนออนไลน์ มีความสนใจและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม แต่ยังไม่มีความชำนาญมากนัก จะต้องได้รับการพัฒนาและศึกษาความรู้เพิ่มเติม 3.2 การฝึกปฏิบัติ พบว่า ครูมีทักษะการสร้างบทเรียนออนไลน์ อยู่ในระดับมาก 3.3 การนิเทศภายใน พบว่า ครูมีความกระตือรือร้น เอาใจใส่และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างบทเรียนออนไลน์ มีการช่วยเหลือแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันจนสามารถสร้างสื่อออนไลน์ได้และนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ปีที่ 9
ฉบับที่ 41
หน้าที่ 211 - 220
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-0632
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)