รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนบ้านซำเจียง-ดงป่าเปลือย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
ชื่อเรื่องรอง Development of the teachers' potential in producing electronic books of ban sumchiang dong pa plueai school under the office of nong khai primary educational service area 1
ชื่อผู้แต่ง
1.เสด็จ แก้วแสนเมือง
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.หนังสือ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
4.เทคโนโลยีทางการศึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของครู โรงเรียนบ้านซำเจียง –ดงป่าเปลือย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 2) หาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โรงเรียนบ้านซำเจียง-ดงป่าเปลือย และ 3)ติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนบ้านซำเจียง –ดงป่าเปลือยโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของเคมมิสและแม็กแท็กการ์ท (Kemmis and Mc Taggart) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ วางแผน (Planning) การปฏิบัติ(Action)การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้วิจัยครูสายผู้สอน จำนวน 8 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 80 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย(Random-sampling) จากกลุ่มนักเรียนที่เรียนกับกลุ่มผู้ร่วมวิจัยกลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของครูโรงเรียนบ้านซำเจียง-ดงป่าเปลือย 1.1 สภาพด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของครู โรงเรียนบ้านซำเจียง –ดงป่าเปลือย พบว่า ครูมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น แต่มีความรู้ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ค่อนข้างน้อยถึงน้อยมาก ครูมีความตระหนักที่จะได้รับการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์แต่ยังขาดทักษะในการใช้โปรแกรมที่ใช้ผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และครูอยากให้โรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1.2ปัญหาการเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของครูโรงเรียนบ้านซำเจียง –ดงป่าเปลือย พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ? =3.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความรู้ความสามารถในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีระดับปัญหามากที่สุด 2.แนวทางพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โรงเรียนบ้านซำเจียง –ดงป่าเปลือย ผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการวิจัยไว้ มี 3 แนวทางคือ 1) การฝึกอบรม 2) การฝึกปฏิบัติ และ 3) การนิเทศติดตาม 3.ผลการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนบ้านซำเจียง –ดงป่าเปลือยผลดำเนินการเป็นดังนี้ 3.1 การฝึกอบรม พบว่า ครูมีความสามารถด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น มองเห็นแนวทางที่จะผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสนใจ มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม แต่ยังไม่มีความชำนาญมากนัก จะต้องได้รับการพัฒนาและศึกษาความรู้เพิ่มเติม 3.2 การฝึกปฏิบัติ พบว่า ครูมีทักษะด้านการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก 3.3 การนิเทศติดตาม พบว่า ครูมีความกระตือรือร้น เอาใจใส่และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้านการออกแบบผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีการช่วยเหลือแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันจนสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้และนำไปใช้ในกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนต่อไป สรุปได้ว่าการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนบ้านซำเจียง –ดงป่าเปลือยตามแนวทางพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือการฝึกอบรม การฝึกปฏิบัติและการนิเทศ ทำให้ครูโรงเรียนบ้านซำเจียง – ดงป่าเปลือย มีความรู้ความสามารถและมั่นใจ มีความพึงพอใจในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนรู้กับผู้เรียนเป็นอย่างมาก มีความรู้ความเข้าใจสามารถและเกิดทักษะในเรื่องผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ปีที่ 9
ฉบับที่ 41
หน้าที่ 199 - 210
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-0632
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)