หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาล ๒ "เชิงชุมอนุชนวิทยา" สังกัดสำนักงานการศึกษาเทศบาลเมืองสกลนคร
ชื่อเรื่องรอง
Participartory action research to develop and promote the use of learning resources for a group of thai subject at the municity school 2 "choengchum wittaya" under the offiice of education mueang sakon nakhon municipalty
ชื่อผู้แต่ง
1.
ธนาภรณ์ ผิวงาม
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
2.
การบริหารองค์ความรู้
3.
การเรียนรู้
4.
กิจกรรมการเรียนการสอน
5.
การสอนแบบบูรณาการ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา แนวทาง และผลของการพัฒนาและการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในโรงเรียนเทศบาล ๒ สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองสกลนครกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบบันทึกการประชุม แบบสังเกต สถิติใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ดังนี้ 1.สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ด้านสภาพมีการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่ไม่เป็นระบบ ครูให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ส่วนปัญหาคือ การขาดความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ การส่งเสริมการใช้แหล่เรียนรู้ภาษาไทยอย่างเป็นรูปธรรมพร้อมกับการพัฒนาด้านการใช้ภาษาไทยกับเทคโนโลยี 2.แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมมุมภาษาไทยในชั้นเรียนกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยในห้องสมุด กิจกรรมส่งเสริมมุมพักผ่อนภาษาไทยในโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมภาษาไทยกับเทคโนโลยี และกิจกรรมค่าภาษาพาเพลิน 3. ผลการพัฒนาและส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กิจกรรม 5 กิจกรรมได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะเห็นได้จาก นักเรียน 1) ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดมุมภาษาไทย ให้มีความน่าสนใจและเอื้อต่อการส่งเสริมการอ่านหนังสือทั้งในและนอกบทเรียน 2) ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยในห้องสมุด ได้ฝึกการวิเคราะห์จัดหมวดหมู่หนังสือและแสดงนิทรรศการแนะนำหนังสือดีที่นักเรียนควรอ่าน (เน้นสอดคล้องกับด้านภาษาไทย) 3) ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมมุมพักผ่อนภาษาไทยในโรงเรียน โดยการนำผลงานนักเรียนมาเสนอในบริเวณต่างๆในโรงเรียน ทำให้นักเรียนเจ้าของผลงานเกิดความภาคภูมิใจและผู้ที่รับสารได้รับความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยเช่นกัน 4) ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมภาษาไทยกับเทคโนโลยีได้มีโอกาสฝึกใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการรับสาร ส่งสาร โดยมีภาษาไทยเป็นสื่อกลาง ฝึกการใช้ภาษาสุภาพเหมาะกับระดับภาษา ถูกต้องตามกาลเทศะ อีกทั้งยังสร้างปฏิสัมพันธ์ กับบุคคลอื่นได้ในยุคปัจจุบัน 5) ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการฝึกทักษะทางภาษาไทย ทักษะการฟังการดู การพูด การอ่าน การเขียนและการอ่านวรรณกรรมวรรณคดี และได้รับประสบการณ์ทางภาษาไทยในรูปแบบสร้างสรรค์ อันเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กไทยในยุคปัจจุบัน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ปีที่
9
ฉบับที่
41
หน้าที่
177 - 188
ปีพิมพ์
2555
ชื่อสำนักพิมพ์
บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1686-0632
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)