ชื่อเรื่อง |
การวิจัยเชิงปกิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
|
ชื่อเรื่องรอง |
PARTICIPATORY ACTION RESEARCH TO DEVELOP PUBLIC- MINDEDNESS OF THE STUDENTS IN BAM KHUA SCHOOL UNDER THE OFFICE OF MUKDAHAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | วารุณี วงศ์วิรุฬหรักษ์ |
2. | ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | จิตสาธารณะ |
2. | จิตสำนึก |
3. | นักเรียน -- จิตสำนึก |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การศึกษา “ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร” ในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตลอดจนเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการมีจิตสาธารณะของนักเรียน รวมทั้งเพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาการมีจิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 7 คน คือครูโรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารจำนวน 104 คนดำเนินการวิจัย 2 วงรอบ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2553
ผลการวิจัยพบว่า
1. การการศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการมีจิตสาธารณะ ของนักเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จากการสัมภาษณ์และสังเกต ปรากฏผลดังนี้ 1) สภาพเกี่ยวกับการมีจิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร องค์ประกอบที่ 1 การหลียกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำ ที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อของส่วนร่วมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม พบว่านักเรียนจะไม่ดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวมส่วนองค์ประกอบที่ 2 การถือเป็นหน้าที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสมบัติของส่วนร่วมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ พบว่า นักเรียนมักจะไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการดูแลสมบัติส่วนรวม 2) ปัญหาเกี่ยวกับการมีจิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร องค์ประกอบที่ 1 การปลียกเลี่ยงการใช้ หรือการกระทำ ที่นะทำให้เกิดความเสียหายต่อของส่วนร่วมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจในการดูแลรักษาสมบัติส่วนรวม ส่วนองค์ประกอบที่ 2 การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสมบัติของส่วนร่วมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มักจะไม่ทำหน้าที่ตามที่ครูมอบหมายในการดูแลสมบัติส่วนร่วม
2.แนวทางการพัฒนามีจิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร มีดังนี้ คือ 1) การจัดกิจกรรมเข้าค่ายอบรมเพื่อพัฒนาการมีจิตสาธารณะ 2) การจัดกิจกรรมชุมนุมจิตสาธารณะ ดำเนินให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งเป็นสถานการณ์จำลอง มีทั้งหมด 12 กิจกรรม
3.การติดติดตามและประเมินผล พบว่า 1) จากการสังเกตของครูพบว่านักเรียนแสดงพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา ซึ่งนักเรียนแสดงพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง 2) จากการประเมินตอนเองของนักเรียน พบว่า นักเรียนแสดงพฤติกรรมการมีจิสาธารณะเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา ในระดับมาก โดยสรุป ทั้งจากการสังเกตของผู้ร่วมวิจัยจิตสาธารณะ และการจัดกิจกรรมชุมชุนจิตสาธารณะ ได้ผลดี เพราะทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมจิตสาธารณะสูงขึ้น
|