หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตวัตกรรมโรงเรียนศึกษาประชาสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
ชื่อเรื่องรอง
The eductor potentail development in innovation education, at suksaprachasamakkee school under the office of the secondary educational service area 23
ชื่อผู้แต่ง
1.
วัชราพร ศรีสร้อย
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.
ครู -- การประเมินศักยภาพ
2.
ครู -- การพัฒนาบุคลากร -- ไทย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัญหา แนวทางและผลของการพัฒนาการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อนวัตกรรม โรงเรียนศึกษาประชาสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบบันทึกการประชุม แบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละความก้าวหน้า ผลการวิจัย ดังนี้ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1.ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อนวัตกรรม โรงเรียนศึกษาประชาสามัคคี อำเภอคำตากล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 สภาพการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อนวัตกรรม โรงเรียนศึกษาประชาสามัคคี อำเภอคำตากล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า ครูโรงเรียนศึกษาประชาสามัคคี ขาดเทคนิควิธีการสอสนที่หลากหลาย ขาดแคลนสื่อที่จะนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ แนวทางในการผลิตและพัฒนาสื่อ ไม่ชัดเจน ครูผู้สอนให้ความสำคัญในการผลิตสื่อน้อย ปัญหาการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อนวัตกรรม โรงเรียนศึกษาประชาคมสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่าครูผู้สอนขาดเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย ขาดแคลนสื่อที่จะนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ แนวทางในการผลิตและพัฒนาสื่อ ไม่ชัดเจน ครูผู้สอนให้ความสำคัญในการผลิตสื่อน้อย ปัญหาการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อนวัตกรรม โรงเรียนศึกษาประชาสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า ครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจ ทักษะและวิธีการในการผลิตสื่อนวัตกรรม ขาดงบประมาณสนับสนุน และขาดการนิเทศติดตามภายในที่สม่ำเสมอ ที่สำคัญครูไม่เคยเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อนวัตกรรม 2.แนวทางการพัฒนาและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อนวัตกรรมโรงเรียนศึกษาประชาสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า 1)ครูมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตสื่อนวัตกรรมโดยใช้โปรแกรม Flip Album จากการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ? =4.03) โดยมีร้อยละความก้าวหน้าที่ระหว่าง 67.56 – 73.08 2) ความพึงพอใจในการจัดการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด (x ? =4.45) สื่อนวัตกรรมโดยใช้โปรแกรม Flip Album คุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ? =4.08)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ปีที่
9
ฉบับที่
41
หน้าที่
157 - 166
ปีพิมพ์
2555
ชื่อสำนักพิมพ์
บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1686-0632
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)