หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง
Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.
พิมพ์อร สดเอี่ยม
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.
การเรียนรู้ -- กิจกรรมการเรียนการสอน -- วิจัย
2.
การเรียนรู้ (จิตวิทยา)
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพและระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2)เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของตัวแบบการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม (mixed methodology) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัว ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร บรรยากาศของโรงเรียน ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู ภาวะผู้นำของครูและการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพของโรงเรียนมีตัวแปรสังเกตได้ 55 ตัว สำหรับวิธีศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 440 โรง ผู้ให้ข้อมูลแต่ละโรงเรียนมี 3 คน เป็นผู้บริหาร 1 คน และครู 2 คน รวมผู้บริหาร 440 คน ครู 880 คน รวมทั้งสิ้น 1,320 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ส่วนวิธีศึกษาเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice) จำนวน 15 โรง ในแต่ละโรงเรียนมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 1 หรือ 2 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดล LISREL และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การตรวจสอบความสอดคลองระหว่างตัวแบบสมมติฐานการวิจัยกับปรากฏการณ์หรือสภาพการณ์ที่เป็นจริง (model-reality consistency) โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ พบว่าปัจจัยในตัวแบบสมมติฐานการวิจัย มีความสอดคล้องกับปรากฏการณ์หรือสภาพการณ์ที่เป็นจริง 2. ปัจจัยเชิงสาเหตุทุกตัวและการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับมาก 3. ตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์=36.82, ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ = 0.58, df = 64, p-value = 0.99, GFI = 0.99 AGFI= .097 RMSEA + 0.00, CN = 1103.59, LSE = 2.70 ทั้งนี้ปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ปัจจัยบรรยากาศของโรงเรียน ปัจจัยความผูกพันต่อโรงเรียนของครู และปัจจัยภาวะผู้นำของครูสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 81 4. อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา ปรากฏผลดังนี้ 4.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงมี 4 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารภาวะผู้นำของครู ความผูกพันต่อโรงเรียนของครูและบรรยากาศของโรงเรียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.48, 0.20, 0.18 และ 0.04 ตามลำดับ 4.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมี 3 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารบรรยากาศของโรงเรียนและความผูกพันต่อโรงเรียนของครูโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.33, 0.20, และ 0.09 ตามลำดับ 4.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมมี 4 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู บรรยากาศของโรงเรียน และภาวะผู้นำของครู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.81, 0.28, 0.24 และ 0.20 ตามลำดับ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปีที่
12
ฉบับที่
1
หน้าที่
163 - 175
ปีพิมพ์
2555
ชื่อสำนักพิมพ์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1513-9514
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)