รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดสำนักงานเทศบาล ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องรอง ACTION RESEARCH ON DEVELOPMENT OF CHILD CAREGIVER ON PROVIDING INTEGRATED LEARNING EXPERIENCES IN EARLY CHILDHOOD DEVELOPMENT CENTERS, NONGHAN SUB-DISTRICT, NONGAN DISTRICT, UDONTHANI PROVINCE
ชื่อผู้แต่ง
1.ลลิตา วัจนสุนทร
2.เพลินพิศ ธรรมรัตน์
3.ภิญโญ ทองเหลา
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ครูพี่เลี้ยง -- ไทย
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -- การบริหาร
3.ครูพี่เลี้ยง -- บทบาทและหน้าที่
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพและปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 2) หาแนวทางพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้กระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มผู้ร่วมวิจัย 7 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 32 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1.จากการศึกษาสภาพและปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จากการศึกษาสภาพการดำเนินงาน พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กยังขาดการใช้เทคนิคในการตั้งคำถามหลายแบบเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และยังไม่ได้ลงแหล่งเรียนรู้และตัวอย่างที่ใช้ประกอบเรื่องที่จัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสัมพันธ์กับชีวิตจริง ส่วนปัญหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยเฉพาะการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการและการนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ยังไม่สามารถนำไปใช้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ และครูผู้ดูแลเด็กยังขาดทักษะในการจัดกิจกรรม รวมถึงการใช้สื่อที่ยังไม่สอดคล้องกับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการณ์เพื่อการพัฒนาเด็กได้ ครูผู้ดูแลเด็กเล็กมีความต้องการที่จะได้รับการอบรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งครูผู้ดูแลเด็กมีความต้องการที่จะเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพราะครูผู้ดูแลเด็กบางคนไม่จบการศึกษาปฐมวัย ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ การอบรมจึงเป็นหลักสูตรที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจสามารถนำมาใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ 2.แนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน3) การนิเทศภายใน ในวงรอบที่ 2 คือการนิเทศแบบให้คำชี้แนะในเรียนเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ 3.ผลการติดตามผลและประเมินผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ในวงรอบที่ 1 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ของครูผู้ดูแลเด็ก โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามลำดับคาเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดังแรก คือ อธิบายตามลำดับขั้นตอนทำให้เข้าใจง่ายและใช้ภาษาได้ถูกต้อง ฝึกให้เด็กมีความเป็นประชาธิปไตย เช่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของเด็กคนอื่น รู้หน้าที่ของตอนเองเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี และเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์การจัดประสบการณ์ ซึ่งทุกข้อนี้ต้องนำมาพัฒนาในวงรอบต่อไป และผลในวงรอบที่2 จากการประเมินแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณการ พบว่า มีองค์ประกอบของแผนการจัดประสบการณ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยสามารถตามลำดับขั้นตอนทำให้เข้าใจง่ายและใช้ภาษาได้ถูกต้อง ฝึกให้เด็กมีความเป็นประชาธิปไตย เช่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของเด็กคนอื่น รู้หน้าที่ของตนเองเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี และเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์การจัดประสบการณ์ เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยวงรอบที่ 2 สูงกว่า ในวงรอบที่ 1 โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.78
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ปีที่ 9
ฉบับที่ 41
หน้าที่ 91 - 102
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686 - 0632
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)